การสังคายนาตำรายาโบราณจากคัมภีร์ใบลานในจังหวัดบุรีรัมย์ (ฉบับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และวัดอิสาณทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์)

โครงการปี 2564
ผู้เข้าชม : 767 คน

|

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์ ดร. เลอสันต์ ฤทธิขันธ์, อาจารย์พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัญญา มณีทอง

หน่วยงาน

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย

วัน/เวลา

พฤศจิกายน 2563 - กรกฎาคม 2564

สถานที่จัดทำโครงการ

บ้านทะเมนชัยและวัดอิสาณทะเมนชัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  • เพื่อให้หมอยาสังคายนาองค์ความรู้จากตำรับยาโบราณตำราการแพทย์พื้นบ้านให้เป็นระบบ หมวดหมู่ มีความชัดเจน และน่าเชื่อถือในการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคหรืออาการต่างๆ ของคนในชุมชน
  • เพื่อจัดทำดัชนีพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ที่ปรากฏอยู่ในต ารายาโบราณ
  • เพื่อให้ทราบ โรค อาการของโรค และวิธีการปรุงยา ที่ปรากฏอยู่ในต ารายาโบราณ
  • เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ข้อมูล ให้แก่ประชาชนได้มีทางเลือกที่จะดูแลและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแพทย์พื้นบ้านมีความสำคัญ และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับประชาชนที่อยู่ในเขตชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง เมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็จะพึ่งหมอยาพื้นบ้าน แต่เนื่องจากศาสตร์ทางด้านนี้ได้ถูกละทิ้งไปเป็นระยะเวลานาน การถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้แบบต่อเนื่องจึงปรากฏอยู่เฉพาะในบางพื้นที่ และส่วนใหญ่มีระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบไม่เป็นทางการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความส าคัญด้านกระบวนการรักษา การใช้สมุนไพร แต่ให้ความสนใจเกี่ยวกับตำรับหรือต าราที่ปรากฏอยู่ในชุมชนน้อยมากเนื่องจากภาษาและอักษรที่มีการบันทึกข้อมูลเป็นอักษรโบราณที่อ่านท าความเข้าใจหรือถ่ายทอดในยุคปัจจุบันได้ยาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาเพื่อค้นหาตำราและต ารับยาที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันโดยการปริวรรต (การแปล) ให้อยู่ในรูปแบบอักษรไทย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการพิจารณาในการพัฒนายาแบบพื้นบ้านขั้นต่อไป (อุษา, 2552) นอกจากนี้การถอดองค์ความรู้ที่ได้จากการปริวรรตตำรายาจากอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องมีกระบวนการสังคายนาตำรับ ตำราจากอักษรโบราณมาเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าในวงกว้าง

ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ “การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช” ถึงแม้ว่าโครงการสังคายนาตำรายาโบราณจากคัมภีร์ใบลานในจังหวัดบุรีรัมย์(ฉบับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ วัดอิสาณทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์) จะไม่ได้ดำเนินงานในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยตรง ทั้งนี้โครงการได้ดำเนินงานภายใต้การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการนำพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของคนในสมัยโบราณ ซึ่งพืชสมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่จะหาได้ในท้องถิ่นและมีฤทธิ์ทางยาสามารถใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยและนำมาบริโภคเป็นผักได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาโบราณที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและอักษรโบราณ หมอยาสมุนไพร แพทย์พื้นบ้าน เพื่อสังคายนาตำรายาโบราณที่ผ่านการปริวรรตและจัดระบบมาแล้ว และจัดทำเป็นรูปเล่มต้นฉบับพิมพ์สี และเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ให้กับแวดวงวิชาการ การแพทย์แผนไทยและการนำพืชสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคหรืออาการต่างๆ มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาโรคในอนาคตได้

เรื่องอื่นๆ

เมนู